12 เทรนด์การออกแบบ UX/UI ที่น่าจับตามองในปี 2022

ในปัจจุบันการออกแบบ UX/UI (User Experience / User Interface) เป็นตัวช่วยเพิ่มประสบการณ์ให้กับผู้ใช้งานได้มีส่วนร่วมกับผลิตภัณฑ์ที่ถูกออกแบบมาให้มีความสวยงามหรือทันสมัยใช้งานง่ายขึ้น ซึ่งมีผลอย่างมากในการสร้างความพอใจให้กับลูกค้า รวมถึงมีผลต่อวิธีคิดของลูกค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้

บริษัทต่าง ๆ เริ่มแก้ไข พัฒนา วิเคราะห์ข้อบกพร่องทางเทคนิคต่าง ๆ เพื่อนำมาพัฒนา UX/UI  ให้สอดคล้องตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน (User) บทความนี้จะเป็นการวิเคราะห์แนวโน้มการออกแบบในปี 2022 เพื่อให้ธุรกิจสามารถวางแผน
จับคู่สินค้าที่ธุรกิจมีอยู่จริงกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับ Platform ได้

1. การออกแบบที่เน้นตอบสนองความยั่งยืน

ในอดีตการออกแบบจะเน้นผู้ใช้งานเป็นหลัก ทำให้ผลิตภัณฑ์ดูโดดเด่นในสายตาผู้ใช้ แต่หลังจากภาวะโลกร้อน Covid-19 และเทรนด์การพัฒนาเรื่องความยั่งยืน นักออกแบบหลายคนจึงหันมาใช้แนวทางการออกแบบเพื่อคุณภาพชีวิตและสังคมกันมากขึ้น โดยมองข้ามการใช้งานของผู้ใช้ และพิจารณาว่าผลิตภัณฑ์หรือการออกแบบจะส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวมอย่างไร ตั้งแต่ความยั่งยืนไปจนถึงจริยธรรมในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล

2. การปรับปรุงการออกแบบโดยรวม (W3C)

การเริ่มต้นพัฒนา W3C ในปี 2021 ช่วยนักออกแบบสร้างผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับดิจิทัล ซึ่งในปีนี้คาดว่าจะมีการออกแบบในมิติใหม่มากขึ้นเพื่อรองรับความสามารถในการเข้าถึงที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภค การนำเสนอรูปแบบที่เพิ่มมากขึ้นจากแบบเดิม ไม่ว่าจะเป็น ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว การเล่าเรื่องผ่านการใส่เสียงหรือมิติอื่น ๆ รวมถึงการเก็บข้อมูล เช่น ข้อมูลส่วนบุคลหรือข้อมูลการชำระเงิน แม้แต่ออกการออกแบบเพื่อให้ผู้พิการหรือผู้มีความบกพร่องทางสติปัญญาสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ นอกจากนี้นักออกแบบจำนวนมากยังหันมาใช้ Web3 เป็นเส้นทางอาชีพใหม่ และจะมีความสนใจใน Decentralized Autonomous Organizations (DAOs) เพิ่มมากขึ้น

3. มิติใหม่ของการออกแบบ UX/UI ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน

brutalistwebsites.com เป็นเว็บไซด์ที่รวมหน้าเว็บออกแบบ UX/UI ที่แปลกและไม่เคยเห็นโดยคุณจะลืมรูปแบบเว็บไซด์ทั้งหมดที่เคยเห็น ทั้งเรื่องของ การอ่านง่าย สีโทนเดียวกัน มองแล้วสบายตา ใช้งานง่าย สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นในเว็บนี้ ต้องเรียกว่าเป็นเว็บไซด์ที่มีความคิดสร้างสรรค์ เปิดจินตนาการ เหมือนกับนักออกแบบที่ไม่ยึดติดกับสิ่งเดิม ๆ และพร้อมจะเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด

แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ชม แต่ก็เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ที่นักออกแบบกำลังให้ความสนใจจนอาจกล่าวได้ว่า “ความสบายไม่สำคัญเสมอไป บางครั้งการยืนให้สูงขึ้น แตกต่าง ตรงไปตรงมา และหยิ่งทะนงนั้นสำคัญกว่า”

4. Adaptive UI ที่อนุญาตให้สลับ Dark/Light ได้

การออกแบบจะต้องคำนึงถึงความแตกต่างในเครื่องมือของผู้ใช้ ขนาดหน้าจอที่แตกต่างกันไม่ว่าดูในแอปหรือในเบราว์เซอร์ต่าง ๆ จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันมีหลายโปรแกรมสามาถสลับโหมดกลางวันกลางคืน (Dark/Light) ซึ่งจะเป็นจุดเด่นที่สำคัญและอาจกลายเป็นมาตรฐานเพื่อสร้างความต่อเนื่องให้กับผู้ใช้ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืนได้

5. การใช้ Chatbots เพิ่มขึ้น

เมื่อระดับความสะดวกสบายในการดำเนินธุรกิจออนไลน์เพิ่มขึ้น ความต้องการบริการลูกค้าออนไลน์ก็มีมากขึ้น บริษัท SaaS รวมถึงสถาบันแบบดั้งเดิมอื่น ๆ เช่น บริษัทการเงิน บริษัทการตลาด องค์กรภาครัฐ เผชิญกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น
โดย Chatbots เข้ามามีบทบาทที่โดดเด่นมากขึ้นในการให้บริการลูกค้า และช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคสนใจสินค้าหรือบริการเพิ่มมากขึ้น โดยใช้ Chatbots เป็นเครื่องมือช่วยอำนวยความสะดวกเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น

6.  Hub ผลิตภัณฑ์แบบครบวงจรใหม่

บริษัทที่จัดตั้งขึ้นจำนวนมากยังคงเติบโตและขยายตัว จึงมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการแบบ “ครบวงจร”
ที่สอดคล้องกัน เช่น YouTube ที่ไม่ได้เป็นเพียง แพลตฟอร์มการสตรีมวีดีโออีกต่อไป แต่ยังมีบริการภาพยนตร์ สตรีมสด กิจกรรมสปอนเซอร์ ดนตรี เป็นต้น

การออกแบบครบวงจรจะมอบความสะดวกสบายในระดับหนึ่ง และยังเป็นโอกาสสำหรับผลิตภัณฑ์เฉพาะกลุ่มที่จะพัฒนาและต่อยอดสู่การเป็น Standalone ต่อไป

7. การเพิ่มของชุมชนในออนไลน์ (Online) อย่างต่อเนื่อง

ด้วยกลุ่มเฉพาะที่ปรากฏทุกวันบนแพลตฟอร์มเช่น Twitch, Reddit, Snapchat Blockdit ฯลฯ แพลตฟอร์มต่าง ๆ จึงต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อมีส่วนร่วมกับความต้องการทางสังคมของผู้ใช้ เช่น TikTok เป็นโลกโซเชียลที่เปิดรับเนื้อหาวิดีโอ แต่ก็มีการภาพถ่าย เรื่องสั้น การเขียนบทความ หรือเนื้อหาอื่น ๆ ที่มากกว่าวิดิโอ เพียงแต่แสดงออกในรูปของวิดิโอเท่านั้น

8. การออกแบบแอปสำหรับหน้าจอขนาดใหญ่

มีคำกล่าวที่ว่า เมื่อ Google ทำบางสิ่ง คนอื่นมักจะทำตาม และเมื่อต้นปีที่ผ่านมา Google ได้อัปเดตระบบการออกแบบ นั่นคือ Material Design ออกแบบมาเพื่อขยายความสามารถในการปรับตัวและช่วยเตรียมแอปสำหรับฟอร์มแฟคเตอร์ทั้งหมด เมื่อออกแบบ Interfaces สำหรับแอป นักออกแบบส่วนใหญ่จะเน้นที่อุปกรณ์พกพา แต่ขณะนี้บริษัทต่างๆ กำลังปรับแอปเดิมให้มีขนาดเหมาะสำหรับหน้าจอขนาดใหญ่ เช่น โทรศัพท์แบบพับได้และเดสก์ท็อป เป็นต้น

9. Interfaces ที่ให้ความสำคัญกับความ Minimal และ Simplicity

บริษัทต่าง ๆ จำเป็นต้องให้ข้อเสนอและบริการต่าง ๆ มากมายในแอป นักออกแบบจะต้องดูแล Interfaces ให้ดูสะอาดและใช้งานง่าย เพราะการทำฟังก์ชันใหม่จะทำให้เกิดความสับสนซึ่งจะทำให้ประสบการณ์ความพึงพอใจของผู้ใช้ลดลง ในแง่ของการออกแบบภาพ จะยังคงเห็น Interfaces สำหรับผู้ใช้ที่ยังคงภาพลักษณ์เก่า ๆ และความเคยชินไว้โดยใช้รูปแบบ skeuomorphism เพื่อสร้างความสนใจ และคงภาพจำขององค์กรไว้ แต่ในขณะก็ต้องออกแบบให้ใช้งานง่ายแต่คงความ Minimal ไว้

10. การใช้งานและประสบการณ์ VR/AR ที่เพิ่มขึ้น

เนื่องจากธุรกิจจำนวนมากยังคงเลือกการทำงานทางไกลให้กับพนักงาน Work Form Home การทำเช่นนี้อาจช่วยขยายการใช้งานเทคโนโลยี VR/AR ได้มากขึ้น แม้ว่าผู้ใช้ทั่วไปอาจพอใจกับเกมอย่าง Pokemon Go แต่ก็ยังมีโอกาสสร้างเทคโนโลยี Metaverse ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อมการทำงานในองค์กร ตัวอย่างเช่น Facebook เปิดตัวแอป VR ที่ทำงานระยะไกลซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้ชุดหูฟัง Oculus สามารถจัดการประชุมในรูปแบบอวาตาร์ของตัวเองได้ ในฝั่งของ Boeing ได้มีการใช้ชุดหูฟัง AR เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานสายการประกอบและลดข้อผิดพลาด

11. การทำงานได้รับผลกระทบจาก Plugin Overload

เครื่องมือใด ๆ ที่คุณใช้ในการทำงานร่วมกันจะมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากการแข่งขันโดยบริษัทต่าง ๆ ในการเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์เข้าด้วยกันผ่านปลั๊กอิน ในขณะที่นักออกแบบและทีมงานจำนวนมากหันมาใช้เครื่องมือออกแบบ UI แบบ synchronous เช่น Figma ทำให้มีการสร้างปลั๊กอินก็เพิ่มขึ้น มันทำให้บางแง่มุมของเวิร์กโฟลว์ออกแบบง่ายขึ้น แต่ในทางกลับกัน มันทำให้เกิดความสับสนในการทำงานหลายคน

12. เพิ่มโอกาสในการออกแบบภายใน ในเรื่องของการชำระเงินผ่าน Crypto

มีผู้ใช้ Metamask มากกว่า 21 ล้านคน ซึ่งเป็นเพียงส่วนเล็กสุดของภูเขาน้ำแข็ง การเริ่มต้นใช้งาน 100 ล้านคนถัดไปสู่โลกของ crypto ทำให้นักออกแบบต้องแก้ปัญหาความท้าทาย UX ที่ไม่ซ้ำใคร ซึ่งสามารถแยกแยะความซับซ้อนและรายละเอียดทางเทคนิคส่วนใหญ่ในการทำงานกับเทคโนโลยี Blockchain เหล่านี้ได้ และในขณะเดียวกับผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่ายและสะดวก

บทสรุป

ในแต่ละปีความเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่ การออกแบบ UX/UI ก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จากผลกระทบด้านต่าง ๆ อาทิ ปัจจัยเรื่องเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น พฤติกรรมผู้ใช้ที่เปลี่ยนแปลงไป และเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งการคาดการณ์แนวโน้มการออกแบบ UX/UI ปี 2022 นี้ยังคงเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าโลกของการออกแบบเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่ไม่หยุดนิ่ง ดังนั้นการเตรียมความพร้อมอยู่เสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้

หากคุณกำลังหาบริษัทที่มีประสบการณ์สามารถออกแบบ UX/UI ให้ตอบสนองต่อความต้องการผู้บริโภคโดยใช้เทคโนโลยี บริษัท Market Metrics Asia สามารถตอบโจทย์ให้กับภาคธุรกิจที่ต้องการความชำนาญในเรื่องของการออกแบบและการวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า เพื่อสร้าง UX/UI ให้ทันเทรนด์ของโลกและเพิ่มมูลค่าให้กับบริษัทคุณ



อ้างอิงจาก

https://www.shrm.org/hr-today/news/hr-magazine/1017/pages/augmented-reality-comes-to-the-workplace.aspx

https://www.accenture.com/us-en/insights/digital/fjord-trends-2020

https://brutalistwebsites.com/

ติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่ :


Message us