เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 65 ที่ผ่านมา สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ร่วมกับที่ปรึกษา
บริษัท มาร์เก็ตเมทริกซ์ เอเชีย จำกัด หรือ MMA จัดงานถ่ายทอดทิศทาง Streaming Platform ไทย … ทำได้ ทำอย่างไร
คุณอุษณิษา คุณเอกอนันต์ ผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เล่าถึงการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในประเทศไทยที่รวดเร็ว รวมถึงพฤติกรรมรูปแบบการเสพ Content ได้เปลี่ยนแปลงจากรูปแบบออฟไลน์มาเป็นออนไลน์มากขึ้น ประกอบกับพฤติกรรมของคนไทยเริ่มให้ความสนใจ Content ที่ไม่ได้เป็นทางการ หรือ Production ที่ไม่จำเป็นต้องจัดเต็มมาก แต่เน้นความใกล้ชิดกับผู้ชมมากกว่า
“ETDA จำเป็นต้องศึกษาและเรียนรู้ Business Model ของ Streaming Platform เพราะพฤติกรรมของทั้งผู้ผลิตและผู้เสพ Content เปลี่ยนไป ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้มีแค่การซื้อขายออนไลน์เท่านั้น แต่ยังมีธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ดำเนินบน Streaming Platform หลายรายการ ที่เปลี่ยนช่องทางนำเสนอแบบดั้งเดิมมาสู่โลกออนไลน์ อันเป็นภารกิจที่ ETDA ต้องเข้าไปดำเนินการดูแลและให้การส่งเสริมด้วย
MMA ได้นำเสนอผลการศึกษาแบบจำลองธุรกิจ (Business Model) ของ Streaming Platform และโอกาสของ Content Creator ไทย ตามรายงานของ กสทช. คาดการณ์จำนวนผู้ชมชาวไทยจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.1 ล้านคนภายในปี 2566 คิดเป็นประมาณ 3% ของประชากรไทยทั้งหมด ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตในอัตราที่ช้ากว่าจำนวนผู้ใช้ทั่วโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 968.32 ล้านคนภายในปี 2566 หรือประมาณ 12% ของประชากรโลก
.
เห็นได้ว่าส่วนแบ่งผู้ชม Streaming Platform ในประเทศไทยยังค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับส่วนอื่น ๆ ของโลก มองได้ว่า …
เป็นทั้งโอกาสและอุปสรรคสำหรับผู้ให้บริการ Streaming Platform ของไทย ซึ่งมีโอกาสในการพัฒนาและขยายตลาดสำหรับผู้ประกอบการและผู้นำเสนอเนื้อหา (Content Provider) ในขณะเดียวกัน ก็เป็นความยากในการกลั่นกรอง (Censorship) และดูแลเรื่องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้ได้มาซึ่ง Content คุณภาพเข้าสู่ Platform
การแข่งขันในอุตสาหกรรม Streaming Platform ผู้ประกอบการรายใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Global Platform ยังคงเน้นที่กลยุทธ์การสร้างฐานสมาชิกตามการดูรายเดือนหรือ Subscriber เป็นหลัก มูลค่าตลาด Streaming Platform
ของประเทศไทยคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นมูลค่าประมาณ 877 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 28,941 พันล้านบาท ในปี 2568 แต่กำไรต่อหน่วยสำหรับเจ้าของแพลตฟอร์มมีแนวโน้มาลดลง อันเนื่องมาจากการแข่งขันด้านราคาและแพ็คเกจการรับชมที่แข่งขันกันอย่างดุเดือดภายใต้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ต้องการแข่งขันเพื่อฐานลูกค้าให้ได้มากที่สุด เห็นได้จากการผลประกอบการที่ขาดทุนจนต้องเลิกจ้างพนักงาน และลดการลงทุนในการผลิตคอนเทนต์ลง
ทีมที่ปรึกษา ยังนำเสนอถึงโอกาสท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือด แม้ว่าผู้ประกอบการรายใหม่ขนาดกลางและขนาดย่อม
ไม่สามารถแข่งขันกับ Global Platform ไม่ว่าจะเป็นปริมาณ Content และปัญหาด้านเงินทุนในการทำการตลาด แต่ยังมีโอกาสสำหรับการวางตำแหน่งตัวเองให้เป็น “Platform ตลาดรอง” ที่นำเสนอเนื้อหาที่แตกต่าง โดยเฉพาะเนื้อหาที่มีความดึงดูดเฉพาะตัวและมีความต้องการในปัจจุบัน คือ เนื้อหาท้องถิ่น หรือ Local Content ที่นำเสนอมุมมอง ความสนใจ ความแตกต่างทางวัฒนธรรมและภาษา เทคนิคการผลิตและการถ่ายทำที่แตกต่างกันและไม่เหมือนใคร ตอบสนองความต้องการของผู้ชมจำนวนมากซึ่งเรียกว่า “กลุ่มอินดี้” อันสอดคล้องกับผลการวิจัย ที่พบว่า “ผู้ชมเริ่มมองหาเนื้อหาหรือ Content ที่มีความแตกต่างภายใต้ความจำเจที่มีอยู่ในตลาดหลักของ Mainstream Platform …. ในทางกลับกันก็สร้างโอกาสให้ Content Creator รายใหม่ในแต่ละท้องถิ่นที่อยากได้ฐานผู้ติดตามเฉพาะกลุ่มหรือ Fandom และพื้นที่นำเสนอเพิ่มเติมจาก Mainstream Platform ที่ปิดกั้นการมองเห็นสำหรับ Content ที่ไม่ได้อยู่ในกระแสเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ”
โอกาสของ Content Creator ไทย ภายใต้แนวคิดทางธุรกิจดังกล่าว สามารถสร้างรายได้ให้เกิดแก่ Content Creator
ได้อย่างน้อย 2 ช่องทาง คือ (1) การผลิต Content ที่ดึงดูดให้นักลงทุนรายใหญ่หรือผู้ที่สนใจได้ทำข้อตกลงซื้อลิขสิทธิ์เพื่อนำไปสร้างหรือต่อยอดต่อไป และ (2) ระดมทุนผ่าน Crowdfunding Platform ซึ่งหมวดหมู่ของงานสร้างสรรค์เป็นหมวดหมู่ที่ได้รับการระดมทุนและสร้างรายได้สูงสุดเป็นอันดับต้นของ Global Platform ไม่ว่าจะเป็น Kickstarter Indiegogo และ Patreon ซึ่งเป็น Crowdfunding สำหรับ Creator ที่ใหญ่ที่สุดในโลก สามารถสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องจากฐาน Fandom หรือผู้ที่ติดตามและชื่นชอบ Creator แต่ละราย … ทั้งนี้ ประเทศไทยมีผู้ประกอบการ Crowdfunding ที่ผ่านการรับรองจาก กลต. และพร้อมเข้าร่วมเป็นพันธมิตรในการสร้างกลไกดังกล่าวแก่ Content Creator ที่มีความสามารถ
.
ช่วงท้ายของการนำเสนอ …. ยังมีมุมมองที่น่าสนใจในการสร้างผลกระทบเชิงสังคมให้เกิดขึ้น ทั้งการกระจายรายได้สู่ผู้ผลิตเนื้อหาในท้องถิ่น ลดความเหลื่อมล้ำของรายได้ในแต่ละพื้นที่ หรือแม้กระทั่งการสร้างโอกาสให้กับ Content Creator
เชิงสังคมอย่างคุณครู ได้มีโอกาสเข้าถึงและเรียนรู้การใช้ Streaming Platform เป็นพื้นที่นำเสนอ Content เชิงการศึกษาและสารความรู้นอกห้องเรียน สร้างรายได้ และมีโอกาสปลดหนี้ที่ปัจจุบันมีจำนวนรวมกันสูงถึง 1.4 ล้านล้านบาท … หลังจากนี้ คณะที่ปรึกษาร่วมกับ ETDA ยังคงเดินหน้าเพื่อต่อยอดกลไกที่ดึงดูด Content Creator หน้าใหม่ได้มีพื้นที่นำเสนอบน Streaming Platform ที่พัฒนาขึ้นต่อไป
ติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่ :