มารู้จัก Halal Blockchain กัน

หลายคนได้ยินคำว่า Blockchain ก็คงจะนึกถึง Cryptocurrency อย่าง Bitcoin แต่รู้หรือไม่ว่า Blockchain สามารถทำอะไรได้หลายอย่างมากกว่านั้น วันนี้เราจะมาเล่าว่า เทคโนโลยี Blockchain สามารถทำอะไรได้บ้าง
Blockchain คือเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลแบบ Shared Database หรือ ที่รู้จักกันในชื่อ “Distributed Ledger Technology (DLT)” เป็นกระบวนการเทคโนโลยีที่มีความโปร่งใส และปลอดภัยสูง สามารถจำแนกเป็น 2 รูปแบบ คือ Centralization กับ Decentralization ยกตัวอย่างง่าย ๆ ในเรื่องการเงิน Centralization เหมือนกับธนาคารกลาง ที่กำกับดูแลเสียรภาพทางการเงินของแต่ละประเทศ เป็นผู้ถือสิทธิกุญแจหลักในการจัดเก็บและบริหารห่วงโซ่บล็อกข้อมูล กับผู้ได้รับสิทธิถือกุญแจร่วมอย่างสถาบันการเงินและเจ้าของบัญชีธนาคารอื่น ๆ ส่วน Decentralization จะเป็นการกระจายอำนาจในการตรวจสอบที่ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้
ซึ่งพอเราเข้าใจแล้วว่า Blockchain ทำหน้าที่อะไร เราลองมาดูกันว่า Blockchain ทำอะไรได้บ้าง จากกรณี Halal Blockchain Network (HBN) เทคโนโลยีเครือข่ายที่พัฒนาโดย Malakat Ecosystem จากประเทศมาเลเซีย นาย Mohd Fadzil Hashim ผู้ก่อตั้ง (HBN) กล่าวว่า HBN จะช่วยให้ผู้บริโภคทราบถึงข้อมูลสายโซ่อุปทานของอาหารที่ซื้อจากการสแกน QR code ที่มีข้อมูลสำหรับการรับรองฮาลาลที่ออกโดยกรมพัฒนาอิสลามแห่งมาเลเซีย ตั้งแต่กระบวนการผลิตแรกจนถึงมือของผู้บริโภค เช่นเดียวกับประเทศอินโดนีเซีย อีกหนึ่งประเทศที่มีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ที่บริหารจัดการและดูแลระบบติดตามสายโซ่อุปทานสินค้าฮาลาลโดยบริษัท Sreeya ก็ได้นำเทคโนโลยี Halal Blockchain เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการ สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคทั่วโลก

กำลังแสกน QR Code ของเครือข่ายฉฮาลาลบล็อกเชนซึ่งเริ่มนำมาใช้ใน Cyberjaya ที่มา : malaymail
มาถึงตรงนี้ทุกคนอาจจะพอเข้าใจแล้วว่า Halal Blockchain คืออะไร ในเบื้องต้น ก็คือ การตรวจสอบ ออกใบอนุญาต และติดตามผลการรับรองมาตรฐานสินค้าฮาลาล ที่อิงหลักฐานเชิงวิทยาศาสตร์อาหารควบคู่กับหลักปฏิบัติตามศาสนา โดย Halal Blockchain ไม่ได้จะมาเพื่อแทนที่การรับรองฮาลาลเดิม แต่เป็นการเพิ่มมูลค่าในการทำให้มั่นใจว่าอาหารที่จำหน่ายนั้นฮาลาลอย่างแท้จริงและทำให้ผู้บริโภคไม่ถูกหลอกจากสัญลักษณ์ฮาลาลปลอม
ปัจจุบัน ประเทศไทยได้มีการเริ่มต้นทำ Halal Blockchain
เพื่อยกระดับมาตรฐานให้ทัดเทียม และในอนาคตประเทศไทยก็จะมีเทคโนโลยีที่รองรับมาตรฐานเดียวเชื่อมโยงกับเพื่อนบ้านอาเซียน เพื่อเป็นเกทเวย์ (Gateway) นำสินค้าฮาลาลไทยออกสู่ตลาดสากลต่อไป

ติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่ :