เทคโนโลยีโดรนในปัจจุบันพัฒนาไปมาก หลายคนคิดว่าโดรนเป็นเพียงเครื่องบินไร้คนขับ บินเพื่อความสนุกสนาน ไว้ใช้ถ่ายภาพมุมสูง ขนส่งสินค้าหรือคนแต่ถ้าเราจะบอกว่าโดรนเป็น นักตรวจสอบอาคารหรือเป็นยามที่รักษาความปลอดภัยละ ? ต้องบอกว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีไปไกลมากขึ้นจากเดิมมากขึ้น วันนี้ Market Metrics Asia จะพาทุกคนมารู้จักกับโดรนที่เป็นมากกว่าอากาศยานไร้คนขับ
อากาศยานไร้คนขับหรือที่เรียกว่า โดรน เดิมทีถูกพัฒนาเพื่อใช้ในประโยชน์ทางการทหารเพื่อไปทำหน้าที่สำรวจในพื้นที่เสี่ยงอันตรายสำหรับทหาร แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาโดรนอย่างต่อเนื่องทำให้ต้นทุนของโดรนถูกลงและทางกฎหมายเองก็เปิดให้ประชาชนเริ่มใช้โดรนจึงมีการพัฒนาโดรนเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับประชาชนอย่างต่อเนื่อง
โดรนถูกแบ่งออกเป็นหลายประเภทแต่ที่เราเคยเห็นกันจะเป็นรูปแบบ 4 ใบพัด แต่ความจริงแล้วมีโดรนรูปแบบปีกและแบบผสมทั้งปีกและใบพัดด้วย
ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีก็เป็นอีกที่ ที่มีการพัฒนาโดรนโดยทำการประกอบโดรนแบบผสมทั้งปีกและใบพัดขึ้น (V TOL UAV) ทำให้สามารถขึ้นลงทางดิ่งในพื้นที่แคบได้โดยไม่ต้องใช้รันเวย์และสามารถปฏิบัติการด้วยความเร็วโดยมีระยะเวลาในการทำงานที่สูงเพราะในการบินทางตรงเป็นการใช้ปีกในการบินทำให้ลดพลังงานและมีประสิทธิภาพในการบินที่สูงขึ้น
นอกจากนี้ยังมีการเขียนโปรแกรมเพื่อให้โดรนทำหน้าที่ตามที่ต้องการ จากโดรนบินสำรวจ ต่อยอดมาเป็นโดรนสำหรับถ่ายภาพทางอากาศ UAV ซึ่งเหมาะสำหรับการทำแผนที่ทางอากาศ การลาดตระเวน การค้นหาและช่วยเหลือ (SAR) และต่อยอดไปสู่โดรนที่สามารถทำแผนที่สามมิติได้ โดยทาง Market Metrics Asia มีไอเดียที่จะใช้ประโยชน์จากความสามารถในระยะเวลาบินที่มีมากของโดรนประเภทนี้ต่อยอดสร้างแผนที่เสมือนจริงของสนามกอล์ฟขึ้นมาสำหรับการพัฒนา เกมตีกอล์ฟเสมือนจริง การที่โดรนสามารถบินได้นานขึ้น ทำให้การสร้างแผนที่มีมีรอยต่อน้อยลง และทำให้แผนที่มีความสมจริงมากขึ้น ซึ่งเหมาะสำหรับสนามกอล์ฟที่มีความพร้อมอยากจะเข้าสู่โลกสมัยใหม่ผ่านเทคโนโลยีที่เรียกว่า Hologram AR VR และถ้าใครอยากรู้ว่า Hologram คืออะไร เราได้อธิบายไว้ในเว็บของเราแล้ว สามารถอ่านได้ที่หัวข้อ Hologram ก่อนไปถึงโลก Metaverse เมื่อมีการทำเกมที่จำลองสนามเสมือนจริงที่เคยเล่น ตรงจุดนี้เองจะช่วยแก้ปัญหาสนามกอล์ฟ เช่น เมื่อวันฝนตกจากที่ต้องเสียโอกาสในการออกรอบ ก็สามารถจะออกรอบได้ตลอดทั้งปี 365 วัน ตามที่ต้องการ หรือการซ้อมก่อนออกรอบจริง จากสนามที่จำลองจากสนามกอล์ฟจริงที่เราจะไป และถ้าหากคุณสนใจโมเดลธุรกิจที่จะช่วยปรับและแก้ปัญหาของคุณโดยใช้องค์ความรู้และนวัตกรรมแบบนี้สามารถติดต่อได้ที่ Market Metrics Asia
ถ้าหากผู้ประกอบการที่เป็นเกษตรกรอยากจะเพิ่มความสามารถในการตรวจสอบหรือการพยากรณ์สภาพอากาศก็มีโดรนสำรวจพื้นที่ทางการเกษตรเพื่อถ่ายภาพพืชไร่ อย่างเช่น พืชอ้อย เพื่อวัดค่าดัชนีความอุดมสมบูรณ์ ตรวจหาโรคในพืชเพื่อรักษาให้ทันเวลา เพื่อเพิ่มผลผลิตและกำไร
นอกจากนี้ยังมีโดรนรุ่น Industrial Drone M1000 จากบริษัท iCreative Systems ที่ช่วยการทำ Visual Inspection โดยนำมาทำหน้าที่ผู้ตรวจสอบอาคารแทนคน สามารถเข้าถึงพื้นที่ที่จำกัดหรือพื้นที่เข้าถึงได้ลำบากเช่น อาคารสูง ถังหรือท่อความดัน หม้อต้มขนาดใหญ่ ในโรงงานอุตสาหกรรม
การ Visual Inspection เป็นส่วนสำคัญในการวางแผนจัดการงานซ่อมบำรุงสินทรัพย์ขนาดใหญ่ของหลายบริษัท แน่นอนว่าการที่สามารถระบุตำแหน่ง และซ่อมแซมแต่ละจุดให้ได้อย่างถูกต้องแม่นยำนั้นจะช่วยให้ยืดอายุการใช้งาน หรือลดข้อผิดพลาด และ ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นนั้น มีต้นทุนที่ถูกกว่าการซื้อ หรือ สร้างใหม่ แต่การนำ Drone inspection มาใช้นั้นไม่ได้ช่วยลดเพียงต้นทุน หรือช่วยเพิ่มความรวดเร็วเพียงเท่านั้น แต่ยังช่วยชีวิตไว้ได้อีกด้วย อย่างเช่น การตรวจสอบอาคารสูงที่ผู้ตรวจสอบต้องทำการโรยตัวด้วยเชือกหรือการตั้งนั่งร้าน ที่อยู่บนที่สูงจากพื้นถึง 20-40 เมตร หากเกิดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดได้ทั้งจาก อุปกรณ์ที่ชำรุด ความไม่ระมัดระวังของผู้ตรวจสอบ หรือหากมองในด้านงานอุตสาหกรรมการซ่อมบำรุงในโรงงาน การตรวจสอบถังความดันที่มีความผิดปกติอาจเกิดอันตรายได้หากมีความผิดพลาดในการตรวจสอบ หรือตัวถังเกิดระเบิดขึ้นมาอันเนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนหน้าในระหว่างการตรวจสอบ อาจส่งผลทำให้ผู้ตรวจสอบเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บ ตัว Drone Inspection จึงเข้ามาช่วยรวบรวมข้อมูลในพื้นที่อันตราย หรือเข้าถึงได้ยากให้กับผู้ตรวจสอบ
นอกจากนี้ยังมีโดรนที่ใช้ตรวจจับบุคคลที่เข้ามาในพื้นที่ สามารถใช้ในการระวังในพื้นที่ ที่เป็นเขตห้ามเข้าได้ โดรนจะทำการแท็กคนและบินติดตามตัวบุคคล พร้อมทั้งแจ้งเตือนไปยังศูนย์กลางว่ามีคนเข้ามาในพื้นที่ ทำให้สามารถป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ทันที
โดรนยังสามารถประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับงานได้อีกมากมาย ตามที่ต้องการตั้งแต่พื้นฐานอย่าง การถ่ายภาพและวีดีโอทางอากาศ การส่งสินค้าทางอากาศ การเก็บข้อมูล หรือ จัดหาข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการจัดการวางแผนรับมือภัยพิบัติในแต่ละพื้นที่ เซนเซอร์ความร้อนของโดรนสำหรับการปฏิบัติการกู้ภัย การสร้างแผนที่ทางอากาศในพื้นที่มีความยากในการเข้าถึง การตรวจสอบความปลอดภัย สภาพความเสียหายของอาคารสูง การตรวจสอบคุณภาพพืชผลทางการเกษตร การขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ หรือมนุษย์ ด้วย UAV การติดตามตำแหน่งของ ภัยพิบัติต่างๆ เช่น ทางน้ำหลาก พายุ และไฟป่า เป็นต้น
และนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่พวกเรา Market Metrics Asia ได้พาทุกคนมาดูถึงเทคโนโลยีของประเทศไทยเองที่สามารถ ประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้อย่างหลากหลาย ซึ่งเป็นแนวทางหลักของ Market Metrics Asia ที่ต้องการจะเป็นที่ปรึกษาธุรกิจมืออาชีพที่ใช้องค์ความรู้และนวัตกรรมสมัยใหม่ เข้ามาช่วยยกระดับขีดความสามารถในเชิงธุรกิจของผู้ประกอบการ ให้มีศักยภาพทัดเทียมสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก และถ้าหากว่าคุณเป็นองค์กรที่ต้องการแผนยุทธศาสตร์ที่ช่วยแก้ปัญหาให้คุณได้โดยใช้นวัตกรรม สามารถติดต่อเราได้ที่นี่
ติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่ :